รูปแบบการเลือกตั้ง ของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน[21]

ระบบบัญชีรายชื่อ

ในระบบบัญชีรายชื่อ จะมีการคัดเลือกด้วยขั้นตอนดังนี้[22]

ให้แต่ละพรรค ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครจำนวนไม่เกิน 125 คน

    1. บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
    2. รายชื่อในบัญชีต้องไม่ซ้ำกับบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
    3. จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข (จาก 1 ลงไป)
  1. หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ให้นับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อของทุกพรรคการเมืองรวมกันทั้งประเทศ แล้วหารด้วย 125 จะได้คะแนนเฉลี่ยต่อผู้แทน 1 คน
  2. นำคะแนนของแต่ละพรรคการเมือง หารด้วยคะแนนเฉลี่ยที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น
    1. เศษทศนิยม ให้ปัดทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลเศษทศนิยมของแต่ละพรรคไว้ (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ปัดทิ้งเหลือ 52)
    2. รวมจำนวนผู้แทนของทุกพรรค หากยังได้ไม่ครบ 125 ให้กลับไปดูที่เศษทศนิยมของแต่ละพรรค พรรคใดที่มีเศษเหลือมากที่สุด ให้เพิ่มจำนวนผู้แทนจากพรรคนั้น 1 คน หากยังไม่ครบ ให้เพิ่มผู้แทนจากพรรคที่มีเศษเหลือมากเป็นอันดับสองขึ้นอีก 1 คน ทำเช่นนี้ตามลำดับจนกว่าจะได้ครบ 125 คน (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ตอนแรกได้ 52 เศษ 0.7 แต่ถ้าจำนวนผู้แทนยังไม่ครบ และไม่มีพรรคใดมีเศษมากกว่า 0.7 พรรค ก จะได้เพิ่มเป็น 53 คน)
  3. เมื่อได้จำนวนผู้แทนในระบบนี้ที่ลงตัวแล้ว ผู้สมัครของพรรคนั้น จากอันดับหนึ่ง ไปจนถึงอันดับเดียวกับจำนวนผู้แทนของพรรคนั้น จะได้เป็นผู้แทนราษฎร (เช่น พรรค ก ได้ 53 คน ผู้ที่มีรายชื่อตั้งแต่อันดับ 1 ถึง 53 จะได้เป็นผู้แทน)

ในการเลือกตั้งครั้งนี้หมายเลขผู้สมัครที่จับในระบบบัญชีรายชื่อจะใช้กับระบบแบ่งเขตเลือกตั้งด้วย โดยแต่ละพรรคจะใช้หมายเลขเดียวกันทั้งสองระบบทั่วประเทศ ซึ่งหมายเลขที่แต่ละพรรคจับได้เป็นดังนี้

หมายเลขพรรคการเมือง[23]
1พรรคเพื่อไทย
2พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3พรรคประชาธิปไตยใหม่
4พรรคประชากรไทย
5พรรครักประเทศไทย
6พรรคพลังชล
7พรรคประชาธรรม
8พรรคดำรงไทย
9พรรคพลังมวลชน
10พรรคประชาธิปัตย์
11พรรคไทยพอเพียง
12พรรครักษ์สันติ
13พรรคไทยเป็นสุข
14พรรคกิจสังคม
15พรรคไทยเป็นไท
16พรรคภูมิใจไทย
17พรรคแทนคุณแผ่นดิน
18พรรคเพื่อฟ้าดิน
19พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20พรรคการเมืองใหม่
หมายเลขพรรคการเมือง[23]
21พรรคชาติไทยพัฒนา
22พรรคเสรีนิยม
23พรรคชาติสามัคคี
24พรรคบำรุงเมือง
25พรรคกสิกรไทย
26พรรคมาตุภูมิ
27พรรคชีวิตที่ดีกว่า
28พรรคพลังสังคมไทย
29พรรคเพื่อประชาชนไทย
30พรรคมหาชน
31พรรคประชาชนชาวไทย
32พรรครักแผ่นดิน
33พรรคประชาสันติ
34พรรคความหวังใหม่
35พรรคอาสามาตุภูมิ
36พรรคพลังคนกีฬา
37พรรคพลังชาวนา
38พรรคไทยสร้างสรรค์
39พรรคเพื่อนเกษตรไทย
40พรรคมหารัฐพัฒนา

ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2550 ก่อนหน้านี้นั้นเป็นแบบ "เขตเดียวสามเบอร์" คือมีการแบ่งเขตเลือกตั้งโดยที่การแบ่งเขตนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนประชากรในเขตที่ต่างกัน ดังนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนผู้แทนได้ไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 1-3 คน ตามขนาดของประชากรในเขต ซึ่งผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้จำนวน เท่ากับจำนวนผู้แทนในเขตของตน[24] แต่การเลือกตั้งผู้แทนในครั้งนี้ แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" คือ การแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะแบ่งเป็น 375 เขต โดยยึดหลักให้แต่ละเขตนั้นมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ดังนั้นในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คนอย่างเท่าเทียมกัน และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว[25]

เกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 เขตนั้น ตามรัฐธรรมนูญ ได้ประกาศให้มีหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ดังต่อไปนี้[26]

  1. นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศ จากทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีก่อนการเลือกตั้ง หารด้วยจำนวนผู้แทนในระบบเขต (คือ 375) จะได้อัตราส่วนของราษฎรต่อผู้แทน 1 คน
  2. นำจำนวนราษฎรในแต่ละจังหวัด หารด้วยอัตราส่วนที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนเขตเลือกตั้งที่มีในจังหวัด
    1. จังหวัดที่ผลหารต่ำกว่า 1 เขต (เช่น 0.86 เขต) ให้ปัดขึ้นเป็น 1 เขต (ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มีจังหวัดใดเข้าข่ายกรณีนี้)
    2. จังหวัดที่ผลหารมากกว่า 1 และมีเศษทศนิยม ให้ปัดเศษทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลของเศษทศนิยมไว้ (เช่น 4.93 ปัดทิ้งเหลือ 4)
    3. รวมจำนวนผู้แทนของทั้ง 77 จังหวัด หากยังไม่ครบ 375 เขต ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือมากที่สุดขึ้นไป 1 เขต หากยังไม่ครบอีก ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือเป็นอันดับสองขึ้นไปอีก 1 เขต ทำเช่นนี้ไปตามลำดับ จนกว่าจะได้จำนวนครบ 375
  3. จังหวัดใดมีจำนวนเขตมากกว่า 1 เขต จะต้องแบ่งเขตโดยให้พื้นที่ของแต่ละเขตติดต่อกัน และแต่ละเขตต้องมีจำนวนราษฎรที่ใกล้เคียงกันด้วย (หลังจากการเลือกตั้ง ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงที่สุดในแต่ละเขต จะได้เป็นผู้แทน)

แต่ละจังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้[27]

จำนวนเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด
พื้นที่จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร33
จังหวัดนครราชสีมา15
จังหวัดอุบลราชธานี11
จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดขอนแก่น10
จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดบุรีรัมย์9
จังหวัดชลบุรี, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดสงขลา8
จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสกลนคร7
จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดกาฬสินธุ์
6
จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
5
จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดตรัง, จังหวัดนครพนม, จังหวัดนราธิวาส, จังหวัดปัตตานี
จังหวัดระยอง, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดลำปาง, จังหวัดเลย, จังหวัดสระบุรี และจังหวัดสุโขทัย
4
จังหวัดกระบี่, จังหวัดจันทบุรี, จังหวัดชุมพร, จังหวัดตาก, จังหวัดน่าน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดพะเยา, จังหวัดพัทลุง, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดอุตรดิตถ์, จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดแพร่, จังหวัดยโสธร, จังหวัดยะลา, จังหวัดสมุทรสาคร, จังหวัดสระแก้ว, จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู
3
จังหวัดชัยนาท, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดลำพูน, จังหวัดสตูล
จังหวัดอ่างทอง, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดบึงกาฬ
2
จังหวัดตราด, จังหวัดนครนายก, จังหวัดพังงา, จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดระนอง, จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม
1

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 http://61.19.246.214/~accout/direct/browse.php/Oi8... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/698... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/728... http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/731... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/election/245443/ph...